วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกการเรียน 3 ต.ค. 2553

วิชา หลักการทฤษฎีการบริหารการศึกษา(1065113) โดย ดร.เสถียร ยุระชัย

-ท่านอาจารย์กล่าวทักทายกับนักศึกษาตามปกติ แล้วได้กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ในภาคเรียนนี้ ต่อจากนั้นอาจารย์ได้กล่าวทบทวนบทเรียนที่ผ่านมาเกี่ยวกับการบริหารว่า ผู้บริหารจะต้องบริหารคน เงิน การจัดการ และอุปกรณ์ ภายใต้ศาสตร์และศิลป์ โดยยึดเป้าหมายขององค์เป็นสำคัญ ส่วนการปฏิบัติตนของผู้บริหารจะต้องปรับเปลี่ยนสถานการณ์ ให้ถูกกาลเทศ -ภาระกิจของผู้บริหาร
1.บริหารวิชาการ
2.บริหารงบประมาณ
3.บริหารบุคคล
4.บริหารทั่วไป
(รายละเอียดศึกษาได้จาก เอกสาร สอน ป.โทแก้ไข ที่ส่งให้ทางเมลล์ แล้วครับ)
ในวันเสาร์ที่ 9 ต.ค. 53 มีการสอบเรื่อง การวิเคราะห์บริบทความท้าทายของการบริหารการศึกษาในอนาคต ในรายวิชา นโยบายและการวางแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น(106513) โดย ท่านอาจารย์ผอ.วีรพล สารรัตน์
ในวันอาทิตย์ที่ 10 ต.ค. 53 มีการสอบปลายภาคเนื้อหาให้ศึกษาเกี่ยวกับเอกสารด้านบน ตามแนวทางคำถามด้านล่าง หลังสอบจะมีกิจกรรมปิดคอร์ด ณ ระเบียงแก้วมุกดา ให้แต่ละกลุ่มเตรียมการแสดงกลุ่มละ 1 อย่าง แล้วอย่าลืมส่งรายงาน 5 หน้าด้วยนะครับ -ช่วงบ่ายผู้ประสานศูนย์โรงเรียนเมืองมุกวิทยาคม ผอ.สังคม วรโยธา ได้มาชี้แจงนัดหมายเกี่ยวกับการตัดชุดสูทรุ่นว่าจะมีการวัดตัวกันในวันที่ 9-10 ต.ค. 53 ซึ่งจะนัดหมายวันเวลาที่แน่นอนต่อไป พร้อมทั้งทำความเข้าใจเพื่อให้แนวทางในการจัดศึกษาดูงานต่างประเทศ
-ส่วนอาจารย์ดร.เสถียร ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับแนวทางปฏิรูปการศึกษาในหัวข้อคำถามสำคัญ(ที่จะนำมาออกข้อสอบ)ดังนี้
1.ความหมายและหลักการบริหารการศึกษา
2.การมีส่วนร่วมทางการศึกษาคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีอุปสรรค์อะไร
3.พรบ.การศึกษา พ.ศ.2542 มีการปฏิรูปในเรื่องใดบ้าง
4.การจัดการศึกษาไทยแบ่งได้กี่ส่วน ได้แก่อะไรบ้าง
5.ผู้บริหารควรมีลักษณะอย่างไร
6.หลักการปรัชญาเศษรฐกิจพอเพียงมีว่าอย่างไร

5 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอขอบคุณ
คุณครูจิระด้วยค่ะที่จัดทำ Blog ดีๆ
สำหรับว่าที่มหาบัญฑิต

ชาญวิทย์ กาลจักร กล่าวว่า...

วันที่ 9 และ 10 ต.ค. ต้องส่งงานอะไรบ้างครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ข้อมูลเพื่อใช้ตอบคำถาม ข้อ 1

http://www.4shared.com/document/4n6uthhV/_online.html

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ข้อมูลใช้ตอบข้อ 6 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3 ห่วง 2 เงื่อนไข : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่สำคัญที่สุด ทุกคนควรเข้าใจ “คำนิยาม” ว่าความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ส่วน 2 เงื่อนไข คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย

- เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ

- เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

“เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือหลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม”

“หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี”

จิระ บุญเสริม กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ